8 อันดับ เครื่องวัดความดัน อัพเดทล่าสุดปี 2567

ค้นหาสินค้าคุณภาพจากหลากหลายแบรนด์ดังกว่าร้อยแบรนด์ และร้านค้าแนะนำอีกมากมาย แหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ช้อปสิ่งที่ชอบ เพิ่มสิ่งที่ใช่ให้ชีวิต ไม่ว่าคุณจะมีไลฟ์สไตล์แบบไหน มาเพิ่มสิ่งที่ชอบได้อย่างไร้ขีดจำกัด
ราคาเด็ดถุกใจลุกค้าแน่นอน ราคาถูกมาก เราอยากนำเสนอ เครื่องวัดความดัน  สินค้าออนไลน์  จากร้านค้า Online ที่ถู๊กถูกและเยี่ยมที่สุดในไทย สั่ง เครื่องวัดความดัน  ไป ราคาถูกกว่าซื้อห้าง สินค้าใส่ซองกันกระแทกมาตอนจัดส่งให้ด้วย ส่งเร็วทันใจ คุณภาพเยี่ยมพอดีเห็น ลดราคาลงมาอีก ซื้อเลย สินค้าไม่เสียหาย มีคุณภาพ ส่งทางไปรษณีย์หรือไม่ก็ทางหน่วยจัดส่ง คุณภาพเกินราคา ได้ลองแล้วนับว่าดีเลยทีเดียว ไม่มีปัญหา

     
หากคุณกำลังมองหาเครื่องวัดความดันพร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้หลากหลาย เราขอแนะนำให้รู้จักกับนวัตกรรมเครื่องวัดความดันชั้นเลิศจากแบรนด์ผู้ผลิตที่คร่ำวอดอยู่ในวงการ โดยแต่ละชนิดมีทั้งแบบ เครื่องวัดความดัน ซึ่งวันนี้ทางเราจึงจัดอันดับ แนะนำ เครื่องวัดความดัน ที่ตอบโจทย์กับตัวคุณมาให้เลือกกันแล้วดังนี้

“ผลตรวจความดันโลหิต” นั้นสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพได้ สังเกตได้จากเมื่อเราตรวจสุขภาพประจำปี ต้องมีการวัดความดันทุกครั้ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่านอกเหนือจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว ยังผู้คนจำนวนมากที่จำเป็นต้องวัดความดันเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ในปัจจุบัน มีเครื่องวัดความดันมากมายหลากหลายแบรนด์ให้เลือกซื้อ ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของวิธีการวัด บางรุ่นวัดจากต้นแขน บางรุ่นวัดจากข้อมือ หรือในเรื่องของฟังก์ชันเสริม เช่น บางรุ่นใช้การเชื่อมต่อกับ Smart Phone ทำให้การส่งต่อข้อมูลเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้แล้ว หลายคนที่ต้องการซื้อเครื่องวัดความดันติดบ้านไว้ หรือใครที่ต้องการซื้อไปให้ญาติผู้ใหญ่ใช้งานจึงลังเลและตัดสินใจไม่ถูกว่ายี่ห้อไหนจะตอบโจทย์การใช้งานได้ดีที่สุด วันนี้ทีมงานของเราจึงตั้งใจมาแชร์เนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการเลือกเครื่องวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องเหมาะสมมาให้ทุกคนได้อ่านกัน รวมไปถึง 10 อันดับ เครื่องวัดความดัน ที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมกันในตอนนี้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจให้ทุกคนด้วยค่ะ
เครื่องวัดความดันเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการวัดความดันโลหิต เพื่อบ่งบอกถึงสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังเชื่อมโยงกับสภาวะของโรคประจำตัวอย่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องวัดความดันที่มีคุณภาพอยู่ ลองมาดูข้อมูลที่เรานำมาแนะนำกันค่ะว่า ต้องดูรุ่นที่เหมาะสมอย่างไรและมีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง เช่น วิธีใช้งาน ความแม่นยำของผล รวมไปถึงฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ ที่จำเป็นด้วย
เครื่องวัดความดันโลหิตสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ประเภทที่วัดความดันโลหิตจากแรงดันผ้าที่พันอยู่รอบต้นแขน หรือรอบข้อมือ ซึ่งเรียกว่าวิธี Oscillometric และอีกประเภทหนึ่งก็คือ การวัดด้วยการฟังเสียง ซึ่งเรียกว่าวิธี Korotkoff นั่นเองค่ะ
ใครที่กำลังมองหาเครื่องที่ใช้งานง่าย สามารถแสดงผลค่าความดันที่แม่นยำ แนะนำให้ใช้วิธี Oscillometric หรือ ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยการรัดสายบริเวณต้นแขนหรือข้อมือค่ะ เพราะเครื่องชนิดนี้จะสามารถตรวจจับความดันในเส้นเลือดได้แทนการฟังเสียง เป็นการตรวจจับความสูงของคลื่นและแรงดันในผ้าหรือสายที่รัดแขน/ข้อมือ อีกทั้งเครื่องประเภทนี้ยังมีดีไซน์ให้ง่ายต่อการใช้งาน ไม่มีความเสี่ยงและผลกระทบจากเสียง ทำให้ค่าที่แสดงผลมีความแม่นยำสูง คลาดเคลื่อนน้อย ซึ่งในปัจจุบัน เครื่องประเภทจึงเป็นที่นิยมใช้สำหรับการใช้งานที่บ้านค่ะ
วิธีการวัดความดันโลหิตด้วยวิธี Korotkoff นั้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการวัดความดันด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกับที่ทางโรงพยาบาลใช้ ซึ่งวิธีนี้จะสามารถวัดความดันโดยการบีบอัด – ปล่อยลมจากลูกบีบไปยังผ้ารัดบริเวณต้นแขน ในขณะเดียวกันนั้น จะต้องคอยสังเกตที่ปรอทและฟังเสียงความดันที่ถูกส่งมาจากเลือด มากระทบผนังของหลอดเลือด ดังนั้น วิธีนี้แพทย์จะต้องสวมหูฟังทางการแพทย์ ( Stethoscope ) ในการฟังเสียง และมักจะเป็นวิธีที่ดำเนินการตามสถานพยาบาลเพื่อความแม่นยำในการวัดค่ะ
สำหรับการใช้งานที่บ้านนั้น เครื่องวัดความดันประเภทนี้จะถูกดีไซน์ให้มีไมโครโฟนที่สามารถส่งเสียงของความดันเส้นเลือดบริเวณต้นแขนได้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หูฟังทางการแพทย์ขณะตรวจที่บ้าน อีกทั้ง ยังมีเครื่องที่ดีไซน์ให้ง่ายต่อการใช้งาน สามารถวัดความดันได้ง่าย ๆ เพียงแค่วางแขนไว้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากจะทำการวัดความดันด้วยวิธีนี้ จะต้องทำในบริเวณที่เงียบสงบและไม่มีเสียงรบกวน เพราะเครื่องประเภทนี้จะมีความไวต่อเสียงรอบข้างมาก อาจมีผลกระทบกับผลที่แสดงออกมาได้ค่ะ
หลัก ๆ แล้วเครื่องวัดความดันที่สามารถใช้งานที่บ้านได้จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบที่ใช้การวัดบริเวณข้อมือ แบบที่ใช้การวัดบริเวณต้นแขน และแบบที่ใช้การวัดโดยสอดทั้งแขนค่ะ เราขอแนะนำให้คุณเลือกซื้อเครื่องที่ตรงกับความต้องการในการใช้งานเป็นหลักนะคะ โดยพิจารณาถึงข้อดี – ข้อเสียและวิธีการใช้งานของแต่ละรุ่น ว่าจะเหมาะกับการใช้งานที่บ้านของคุณหรือไม่
เครื่องวัดที่ข้อมือนั้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องเดินทางบ่อย จำเป็นต้องพกเครื่องติดตัวไปด้วย หรือคนที่อยากทราบผลความดันแค่เพียงคร่าว ๆ เท่านั้น เพราะเครื่องประเภทนี้จะมีขนาดเล็กกะทัดรัด และมีราคาที่ค่อนข้างย่อมเยาเมื่อเทียบกับรุ่นอื่น ๆ อีกทั้งยังจัดเก็บได้ง่ายและไม่กินเนื้อที่ด้วยค่ะ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของรุ่นนี้ คือ อาจจะได้ผลตรวจที่ไม่แม่นยำนัก ซึ่งหากวางเครื่องในตำแหน่งที่ผิดประมาณ 10 เซนติเมตร จะสามารถส่งผลให้ค่าความดันผันผวนได้ถึง 10 mmHg เลยทีเดียวค่ะ แนะนำว่าให้วางตำแหน่งให้ถูกต้องก่อนจะใช้งานเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้นนะคะ
สำหรับเครื่องที่วัดบริเวณต้นแขนนี้ จะใช้การวัดความดันจากลมที่อัดใส่ผ้ารัดบริเวณต้นแขน ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับคนที่ต้องการผลตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำมากกว่ารุ่นที่วัดจากข้อมือ และจะมีราคาที่สูงกว่าด้วย แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงราคาที่เหมาะสม หากแลกมากับผลตรวจที่แม่นยำมากขึ้น อีกทั้งเครื่องประเภทนี้ยังได้รับความน่าเชื่อถือและสามารถใช้งานได้ง่ายที่บ้าน อีกทั้งยังมีหลายรุ่นและหลายฟังก์ชันการใช้งานให้เลือก
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของรุ่นนี้อาจจะมาในเรื่องของสายรัดแขน เพราะสายรัดนั้นจะต้องรัดด้วยแรงที่พอดี และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องใช้งานด้วยตัวเอง ดังนั้นแล้ว คุณอาจมองหาเครื่องที่ดีไซน์มาสำหรับสอดแขนได้ง่ายก็ได้เช่นกันค่ะ
เครื่องวัดความดันโลหิตแบบสอดทั้งแขนเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผลที่มีความแม่นยำสูง โดยเครื่องรุ่นนี้สามารถหาค่าความดันได้อย่างง่าย ๆ เพียงแค่สอดมือหรือวางแขนไว้บนเครื่องเท่านั้น ตัวเครื่องจะทำการปรับท่าวางและตำแหน่งให้อย่างถูกต้องโดยอัตโนมัติ จึงแทบไม่มีการคลาดเคลื่อนในการวัดเลยค่ะ หากใครจำเป็นที่จะต้องวัดความดันเป็นประจำทุกวัน เครื่องนี้ก็ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างดีเลยค่ะ เพราะไม่จำเป็นต้องคอยกังวลในเรื่องของตำแหน่งและแรงดันอากาศที่อัดใส่สายรัด จึงง่ายต่อการใช้งานโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของเครื่องชนิดนี้ คือ ขนาดเครื่องที่ใหญ่ กินเนื้อที่การวาง อีกทั้ง ยังมีราคาที่สูงมากอีกด้วยค่ะ แต่ถ้าบ้านไหนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวันหรือวันละหลาย ๆ ครั้งล่ะก็ เครื่องชนิดนี้อาจเป็นรุ่นที่ควรค่าแก่การใช้งานนะคะ
สำหรับผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองและหัวใจนั้น มักจะมีอาการให้เห็นได้ง่ายในช่วงเช้า เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการอุดตันของเส้นเลือดหรือภาวะหัวใจวาย ควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำทุกวันโดยเฉพาะในช่วงเช้า ซึ่งถ้าหากเครื่องวัดความดันของเราสามารถบันทึกและคำนวณค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจได้ ก็จะช่วยให้เราควบคุมและติดตามค่าความดันของตัวเองได้ง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ
แต่สำหรับโรคความดันโลหิตสูงนั้นมักจะตรวจเจอได้ยากในช่วงเวลากลางคืน หรือพวกอาการไตวายและโรคเบาหวานนั้นมักไม่ค่อยแสดงอาการออกมาให้เห็น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคอยตรวจวัดความดันที่บ้านเป็นประจำ
แนะนำให้มองหาเครื่องที่สามารถบันทึกข้อมูลและผลตรวจได้ และยิ่งถ้ามีฟังก์ชันคำนวณค่าเฉลี่ยความดันทั้งในช่วงเช้า – เย็นก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมาก เพราะจะช่วยให้คุณควบคุมอาการของตัวเองได้ดีขึ้น คอยสังเกตและตรวจจับอาการต่าง ๆ ที่แสดงออกมาได้ง่ายขึ้น ถือเป็นอีกตัวช่วยในการรักษาและแจ้งเตือนกรณีที่อาจมีอาการต่าง ๆ กำเริบล่วงหน้าได้เลย
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า เครื่องวัดความดันจะทำงานโดยการอัดอากาศเข้าไปในผ้าพันแขน ทำให้บริเวณที่รัดเกิดความแน่นจนเครื่องสามารถตรวจจับความดันโลหิตได้ หากผ้าที่รัดไม่แน่นพอหรือหลวมเกินไป อาจส่งผลให้ค่าของการตรวจมีการคลาดเคลื่อนได้ จึงควรเลือกขนาดของผ้าที่พอดีกับแขนของผู้ที่จะใช้งานเป็นหลัก
สำหรับแบบรัดข้อมือ ควรจะมีความยาวประมาณ 13 – 22 เซนติเมตร และสำหรับต้นแขน ควรมีความยาวประมาณ 20 – 32 เซนติเมตร ซึ่งขนาดที่ว่ามานี้เป็นขนาดตามมาตรฐานทั่วไป โดยตัวผ้าที่รัดจะสามารถปรับเปลี่ยนขนาดใหญ่ – เล็กเป็นพิเศษได้ เพื่อให้พอดีตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน แต่ถ้าหากซื้อมาแล้วพบว่ามีขนาดไม่พอดี แนะนำให้นำกลับไปเปลี่ยนเป็นรุ่นอื่นกับทางร้านค้าจะดีที่สุดค่ะ
โดยทั่วไปแล้ว เครื่องวัดความดันจะไม่สามารถทำการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หากผ้าที่พันแขนหลวมหรือแน่นจนเกินไป หรือมีการวางแขนไม่ตรงตามตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งการที่จะวางตำแหน่งให้ตรงเป๊ะหรือคาดเดาความแน่นในการพันแต่ละครั้งนั้น ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยด้วย เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้ ขอแนะนำให้คุณเลือกซื้อเครื่องวัดที่สามารถแสดงเครื่องหมายบนหน้าจอ และมีฟังก์ชันแจ้งเตือน เพื่อบ่งบอกให้ทราบว่ามีการพันและวางแขนในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มความแม่นยำได้มากขึ้น
แบตเตอรี่ของเครื่องวัดความดันโลหิตทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทใช้ไฟฟ้า และ ประเภทใช้ถ่าน ซึ่งแบบใช้ไฟฟ้าก็จะใช้งานง่าย แค่เสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้เลย จึงเหมาะกับการใช้งานที่บ้าน สำหรับเครื่องวัดความดันแบบใช้ถ่าน ก็จะเหมาะสำหรับการใช้งานเมื่อต้องเดินทาง หรือเหมาะกับคนที่จำเป็นต้องพกพาเครื่องไปด้วยทุกที่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้หลายยี่ห้อที่ผลิตรุ่นที่สามารถใช้งานได้ทั้งไฟฟ้าและถ่านในเครื่องเดียวด้วย ซึ่งถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างทั่วถึงทีเดียวค่ะ
ใครที่ต้องการซื้อเครื่องวัดความดันเอาไว้ใช้งานทั้งครอบครัวล่ะก็ แนะนำว่าให้เลือกรุ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งานแยกกันได้ด้วยนะคะ เพราะฟังก์ชันนี้จะสามารถบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคนได้เลย ทำให้เราสามารถติดตามผลความดันของทุกคนได้อย่างง่ายดาย และข้อมูลจะไม่ถูกบันทึกทับกันหรือหายไปอีกด้วยค่ะ โดยบางยี่ห้อจะสามารถบันทึกชื่อบุคคลได้เลย บางยี่ห้อก็จะบันทึกเป็น “ผู้ใช้งาน 1” และ “ผู้ใช้งาน 2” เป็นต้น
หากใครที่จำเป็นต้องวัดความดันเป็นประจำทุกวัน ขอแนะนำให้เลือกรุ่นที่สามารถเชื่อมต่อกับ Smart Phone หรือคอมพิวเตอร์ได้ เพราะการเชื่อมต่อนี้จะช่วยให้คุณบริหารข้อมูลและผลตรวจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถแชร์ค่าความดันให้กับคนรอบข้าง เช่น คนในครอบครัวหรือแพทย์ประจำตัวได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
และโดยปกติแล้ว จำนวนข้อมูลที่สามารถบันทึกลงในเครื่องทั่วไปจะมีจำกัด แต่ถ้าหากเป็นเครื่องที่เชื่อมต่อกับ Smart Phone ได้ คุณก็จะสามารถบันทึกข้อมูลได้ในระยะยาวเลยค่ะ ทั้งยังสามารถทำกราฟเพื่อแสดงผลของค่าความดันในช่วงที่ผ่านมาได้ จดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ง่ายและสะดวกขึ้นอีกด้วย ส่วนวิธีการส่งต่อข้อมูลก็จะขึ้นอยู่กับเครื่องแต่ละรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการส่งผ่านระบบ Bluetooth, NFC, หรือแม้กระทั่ง USB ก็สามารถทำได้ ยังไงก็ขอให้ทุกคนเน้นรุ่นที่มีขั้นตอนในการส่งแบบง่าย ๆ เป็นหลักนะคะ
หลังจากที่เราได้ศึกษาข้อมูลการเลือกเครื่องวัดความดันที่ถูกต้องเหมาะสมกันมาอย่างเต็มที่แล้ว ตอนนี้ก็มาถึง 10 อันดับ เครื่องวัดความดัน ที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่ทางทีมงานได้คัดสรรมาให้ไวเป็นแนวทางในการเลือกซื้อโดยเฉพาะเลยค่ะ จะมีตัวไหนน่าสนใจและมีฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ!
เป็นรุ่นที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครันและใช้งานง่ายมาก ๆ เพราะมีแม้กระทั่งเสียงพูดภาษาไทยที่อ่านรายงานผลตรวจได้อย่างชัดเจน และหน้าจอมีการแสดงผลด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น เมื่อมีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ นอกจากนี้ หน้าจอยังสามารถแสดงค่าเฉลี่ยความดันของผู้ใช้ได้ถึง 3 ครั้ง และมีสัญลักษณ์บอกเมื่อพันผ้ารัดแขนไม่ถูกต้อง ช่วยให้ผลตรวจมีความแม่นยำมากขึ้น

รุ่นนี้ยังสามารถบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งานได้ถึง 2 คน จึงช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมติดตามค่าความดันได้อย่างดี และที่สำคัญ ยังแยกระดับค่าความดันตามมาตรฐาน WHO หรือองค์การอนามัยโลกที่มีความน่าเชื่อถือ ทั้งยังเป็นรุ่นที่ยอมรับและมีการใช้งานอย่างหลากหลายในต่างประเทศอีกด้วยค่ะ
รุ่นนี้สามารถใช้งานได้ทั้งที่บ้านและพกพาไปด้วยทุกที่ สายรัดมีขนาดใหญ่พิเศษ แม้คนรูปร่างใหญ่ก็ใช้งานได้ จอแสดงผลมีแสงพื้นหลัง Back-Light และจอมีขนาดใหญ่ ชัดเจนและสะดวกต่อผู้สูงอายุในการอ่านผลด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชันการอ่านผลตรวจด้วยเสียงภาษาไทย ทั้งยังสามารถบันทึกผลการตรวจได้ถึง 80 ครั้ง พร้อมแสดงค่าเฉลี่ยความดันที่วัด 3 ครั้งล่าสุดได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานคำนวณค่าเฉลี่ยและติดตามผลตรวจได้สะดวกมากขึ้น

มีฟังก์ชันแจ้งเตือนตำแหน่งผ้าพันแขนโดยแสดงสัญลักษณ์บนหน้าจอในกรณีที่ผิดปกติ จึงหายห่วงเรื่องผลที่อาจไม่แม่นยำได้เลย นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจและวัดค่าความดันได้ทั้งช่วง Systolic หรือ Diastolic ได้อย่างแม่นยำ เสริมด้วยการวัดค่าความถี่ของชีพจรให้อีกด้วยค่ะ
รุ่นนี้ราคาย่อมเยา แต่มาพร้อมฟังก์ชันครบเครื่องเกินราคาค่าตัวเป็นอย่างมากเลยค่ะ ดีไซน์ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด แต่มีหน้าจอ LCD ขนาดใหญ่คมชัด อ่านผลตรวจได้ง่ายสำหรับผู้สูงอายุ มีฟังก์ชันเตือนความดันที่เป็นมาตรฐานตามองค์การอนามัยโลก WHO และระบบแจ้งเตือนกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะให้ด้วย ให้ผลตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำและมีความคลาดเคลื่อนเพียงแค่ +-3 mmHg เท่านั้น

รุ่นนี้สามารถบันทึกผลตรวจได้ 2 คน คนละ 90 ครั้ง แถมยังมีระบบประหยัดพลังงาน โดยเครื่องจะปิดอัตโนมัติทันทีเมื่อไม่มีการใช้งานภายใน 1 นาที นอกจากนี้ ยังเป็นรุ่นที่สามารถใช้ได้ทั้งแบบชนิดถ่านหรือไฟบ้านได้อีกด้วย เสียงรีวิวจากผู้ใช้จริงส่วนมากกล่าวว่า เป็นเครื่องวัดความดันที่มีคุณภาพสูงเกินราคาค่าตัว ให้ผลตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ อยู่ในระดับที่เพียงพอสำหรับการตรวจความดันในเบื้องต้นเลยค่ะ
เป็นอีกรุ่นที่ขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับการใช้งานที่บ้าน หรือจะพกพาเดินทางก็ตอบโจทย์ได้ดีทีเดียวค่ะ ตัวเครื่องมีคุณภาพสูงและให้ผลตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำ เพราะผ่านมาตรฐานระดับสากลไม่ว่าจะเป็น FDA, CE, TUV Rheinland, และยังผ่าน EN ISO 13485 ที่ครอบคลุมตั้งแต่การดีไซน์ตัวเครื่องและขั้นตอนการผลิตสำหรับเครื่องมือทางการแพทย์อีกด้วย มีคัฟแขนให้เลือก 2 ขนาดตามรูปร่างผู้ใช้งาน

มีการใช้งานที่ง่ายดายเพียงกดปุ่มเดียวเท่านั้น หน้าจอสามารถแสดงค่าความดันของทั้ง Systolic และ Diastolic ได้อย่างแม่นยำ พร้อมแสดงอัตราการเต้นของหัวใจให้ด้วย ตัวเครื่องมีเสียงพูดเตือนขณะใช้งาน จุดเด่นขอรุ่นคือเรื่องของ Memory ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ 2 คน โดยสามารถบันทึกผลตรวจได้มากถึง 192 ครั้งเลยค่ะ
อีกหนึ่งรุ่นสำหรับคนที่เดินทางบ่อยและมีความจำเป็นต้องคอยเช็กความดันเป็นประจำ เพราะรุ่นที่วัดจากข้อมือ มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด พกพาสะดวก ใช้งานได้ง่าย เพียงสัมผัสแค่ปุ่มเดียว ทั้งยังบันทึกข้อมูลค่าความดันได้ถึง 60 ครั้ง และมาพร้อมกับฟังก์ชันที่สามารถวัดค่าเฉลี่ยความดันของผู้ใช้ 3 ครั้งล่าสุดได้ และมีความคลาดเคลื่อนเพียงแค่ +-3 mmHg เท่านั้น

มาพร้อมฟังก์ชันเสริม หากขณะใช้งานแล้วมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย เครื่องก็จะส่งสัญญาณเตือนให้ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจในกรณีที่เต้นผิดจังหวะได้ และช่วยประหยัดพลังงานโดยการปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งาน มีหน้าจอใหญ่ ตัวหนังสือคมชัดและปุ่มใช้งานขนาดใหญ่ ผู้สูงอายุสามารถใช้งานเองได้อย่างสะดวก
มาดูรุ่นที่วัดบริเวณข้อมือกันบ้าง เป็นเครื่องขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาสะดวก เหมาะสำหรับคนที่เดินทางบ่อยและต้องการใช้งานคนเดียว เพราะสามารถบันทึกผลตรวจได้แค่ 1 คนเท่านั้น โดยบันทึกได้ถึง 60 ครั้ง จุดเด่นของรุ่นนี้ คือ สามารถบอกค่าเฉลี่ยจากผลตรวจทั้งหมดได้ อีกทั้งยังแยกช่วงเวลาเช้า – กลางคืนได้ในช่วงเวลา 7 วันล่าสุดด้วย เป็นการช่วยให้ผู้ใช้งานคาดคะเนถึงอาการต่าง ๆ ล่วงหน้าได้อย่างดี

นอกจากนี้ ยังสามารถวัดความดันไปพร้อม ๆ กับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ ซึ่งมีระบบตรวจจับกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ และจะมีการแจ้งเตือนเมื่อแบตเตอรี่ใช้งานอ่อน หรือเมื่อใช้งานที่ผิดวิธี ตัวเครื่องมีหน้าจอที่ใหญ่ ที่มาพร้อมแถบสีแสดงค่าความดันด้านข้าง ช่วยอ่านผลตรวจได้ง่าย มาพร้อมกล่องเก็บเพื่อความสะดวกในการใช้งานด้วยค่ะ
รุ่นนี้ชูโรงด้วยมาตรฐานของ ESH Protocol ซึ่งรับรองผลตรวจที่ให้ความแม่นยำสูง โดยผ่านการทดสอบทางคลินิกมาแล้วเรียบร้อย สามารถใช้ได้ทั้งแบบถ่านอัลคาไลน์และสายชาร์จไฟ เหมาะใช้งานในบ้านหรือจะพกพาก็ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ใช้งานได้ง่าย เพียงแค่กดปุ่มเดียวเท่านั้น มีฟังก์ชันที่สามารถบันทึกผลตรวจย้อนหลังได้ถึง 90 ครั้ง และแสดงค่าเฉลี่ยจากการวัด 3 ครั้งสุดท้ายได้

อีกทั้งยังสามารถวัดชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจไปพร้อมกับขณะที่วัดความดันได้อีกด้วย โดยเสียงรีวิวจากผู้ใช้งานจริงกล่าวกันว่า ใช้งานได้ดี มีคุณภาพสูง ให้ผลไวและได้ผลตรวจที่ค่อนข้างแม่นยำอีกด้วย นอกจากนี้ เครื่องสามารถปิดเองอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งาน เป็นการประหยัดพลังงาน ไม่ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อย
เมื่อพูดถึงเครื่องวัดความดัน คงไม่มีใครไม่รู้จัก OMRON แน่นอน สำหรับรุ่นนี้เป็นชนิดที่วัดจากข้อมือ ใช้งานง่ายและเหมาะแก่การพกพา มาพร้อมกับฟังก์ชันครบครันไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงบนหน้าจอ การเชื่อมต่อกับ Smart Phone ผ่านระบบ Bluetooth เพื่อส่งต่อข้อมูลไปยัง Application จึงตอบโจทย์เรื่องความสะดวกต่อการใช้งานมาก ๆ แถมมาด้วยดีไซน์และสีที่สวยหรูทันสมัย ทั้งยังสามารถตรวจจับการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและมีระบบเตือนให้วัดค่าใหม่เมื่อเกิดความผิดพลาด

จุดเด่นของรุ่นนี้ คือ ใช้เทคโนโลยี IntelliWrap และ IntelliSense ที่ช่วยพันข้อมือได้ง่ายขึ้น เพื่อวัดค่าได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ซึ่งสายรัดจะพองตัวในระดับที่เหมาะสมและทำการวัดค่าอย่างรวดเร็วก่อนวาล์วจะปล่อยลมออก จึงสะดวกกับผู้ใช้งาน พร้อมตรวจจับการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะวัด สามารถบันทึกข้อมูลได้ 2 คน จำนวน 200 ครั้งพร้อมวันและเวลาเพื่อง่ายต่อการเช็กผลย้อนหลังอีกด้วย
เป็นอีกรุ่นที่ตอบโจทย์การเน้นตรวจที่แม่นยำและการติดตามผลแบบไฮเทคได้ดี โดยรุ่นนี้มีความคลาดเคลื่อนเพียงแค่ +-3 mmHg อีกทั้งยังมีจุดเด่นในเรื่องของการเชื่อมต่อระหว่างตัวเครื่องกับ Smart Phone เพื่อส่งผลตรวจและข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ใช้งานไปยัง Application ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถรองรับทั้ง IOS และ Android ผ่านระบบ Bluetooth ช่วยแชร์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะกับคุณหมอหรืออัพเดทผลตรวจกับคนในครอบครัว

รุ่นนี้สามารถแสดงค่าเฉลี่ยของการวัดที่ผ่านมาทั้งหมดของผู้ใช้งานได้ สามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 2 คน คนละ 60 ครั้ง มีระบบประหยัดพลังงานที่คอยปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งาน มีฟังก์ชันตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ และยังมีตารางแถบสีที่แสดงระดับความดันซึ่งเป็นมาตรฐานตามองค์การอนามัยโลก WHO ที่สำคัญ มีคัฟแขนที่ปรับไซซ์ได้ถึง 43 ซม. รองรับการใช้งานของคนรูปร่างใหญ่ได้เลยค่ะ
มาถึงรุ่นยอดนิยมอันดับ 1 จาก OMRON นี่เอง รุ่นนี้ก็มาในดีไซน์ที่ทันสมัยเช่นกัน มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานได้ทั้งที่บ้านและพกพา มาพร้อมจุดเด่น คือ ระบบ Intellisense ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการวัดความดัน เพราะสายรัดจะพองตัวในระดับที่เหมาะสม อีกทั้งยังสามารถปรับแรงบีบตัวของสายรัดได้ ทำให้ได้ผลตรวจที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และไม่บีบรัดแขนเกินไปขณะใช้งานอีกด้วย มีหน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ อ่านผลตรวจได้ง่ายและชัดเจน

นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชันมาตรฐานครบครัน ทั้งหน่วยความจำที่เรียกดูผลตรวจล่าสุดย้อนหลังได้ ทั้งแสดงสัญลักษณ์เมื่อตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและเมื่อพบค่าความดันโลหิตสูงเกินมาตรฐาน เสียงรีวิวจากผู้ใช้จริงส่วนมากกล่าวว่า ตัวเครื่องมีคุณภาพสูง ใช้งานง่ายเพียงปุ่มเดียว และให้ผลที่แม่นยำ
ก่อนที่จะใช้เครื่องวัดความดัน เราควรจะอยู่ในที่ ๆ เงียบสงบและอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายก่อนที่จะเริ่มวัดกันค่ะ หลังจากใส่ผ้าพันแขนและนั่งในท่าที่ถูกต้องแล้ว ให้เริ่มทำการตรวจโดยกดปุ่มทำงานของเครื่อง และอย่าลืมว่าส่วนที่พันแขนนั้นควรจะอยู่ในระดับหัวใจ ในขณะที่ทำการวัดความดันอยู่นั้น ไม่ควรนั่งไขว้ขาหรือยกขาขึ้นมาด้วย ควรนั่งในท่าที่ถูกต้องเหมาะสมและรอจนกว่าเครื่องจะทำการวัดค่าความดันเสร็จ
เนื่องจากค่าความดันโลหิตนั้นอาจได้รับผลกระทบมาจากอุณหภูมิของห้องด้วย จึงขอแนะนำว่าควรอยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 องศาขณะที่ทำการตรวจกันด้วยนะคะ นอกจากนี้ คุณสามารถทำการวัดความดันวันละสองครั้ง โดยวัดในช่วงเช้าและกลางคืนอย่างละครั้ง ไม่ควรวัดในเวลาเดิมซ้ำ ๆ นั้น ก็จะทำให้ได้ค่าเฉลี่ยที่ค่อนข้างแม่นยำมากขึ้นค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลังจากที่ได้อ่านขอมูลความรู้เกี่ยวกับเครื่องวัดความดันกันไปแบบเต็มที่ในวันนี้ รวมถึงรีวิว 10 อันดับ เครื่องวัดความดันที่เรานำมาฝากกันด้วย หวังว่าหลาย ๆ คนจะสามารถนำเนื้อหาไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องที่มีคุณภาพและตรงกับการใช้งานของกันได้อย่างเต็มที่นะคะ
การตรวจความดันโลหิตนั้นถือเป็นก้าวหนึ่งในการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ ดังนั้นแล้ว เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนสำคัญในครอบครัว ก็อย่าลืมหาเครื่องวัดความดันที่มีวิธีการใช้งานง่าย ๆ สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่สำคัญ จะต้องตอบโจทย์การใช้งานได้ดีด้วยนะคะ